“หยินหยาง” สร้างสมดุลตามศาสตร์แพทย์แผนจีน
เพราะสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ ยิ่งยุคนี้คนหันมาใส่ใจสุขภาพเป็นอันดับต้นๆ ทุกคนอยากรู้ทำอย่างไรให้แข็งแรงสู้โรค นอกจากระวังป้องกันโรคกันหนักอยู่แล้ว Sineha Bangkok เลยใช้ช่วงเวลานี้ชวนมาทำความรู้จัก การปรับ “หยินหยาง” เพื่อชีวิตที่สมดุลด้วยแพทย์แผนจีน กันค่ะ
สัญลักษณ์หยิน-หยาง ที่เราคุ้นเคยกันนั้น มี สีดำแทนหยิน มีสีขาวแทนหยาง (บางตำรา สะกดภาษาไทยว่า อิน–หยาง) โดยทฤษฎีหยิน-หยาง เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยยุคราชวงศ์โจว หรือเมื่อ 1,000-256 ปีก่อนคริสตกาล และมีบันทึกพบว่ามีการกล่าวถึง หยิน-หยาง เป็นครั้งแรก ในคัมภีร์อี้จิง
ทฤษฎีหยิน-หยาง ครอบคลุมแทบทุกแขนง และถูกนำมาใช้ในวิชาการต่าง ๆ เช่น พยากรณ์อากาศ หมอดู ภูมิศาสตร์-ฮวงจุ้ย ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ และแพทย์แผนจีน ที่เรากำลังจะกล่าวถึงนี้
คำว่า “หยินหยาง” ที่ได้ยินหมอจีนพูดถึงอยู่บ่อย ๆ วันนี้มาฟังคำอธิบายง่ายๆ จาก หมอพิงค์ พจ.ชญานิน งามฉายวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านแพทย์แผนจีนประจำ รีเจนเนไลฟ์ ไวทัล เซ็นเตอร์
หมอพิงค์ อธิบายว่า “หยินหยาง” คือ การมองว่าในจักรวาล จะมี 2 สิ่งที่อยู่ตรงข้ามกันเสมอ เช่น เย็น-ร้อน, มืด-สว่าง, สงบนิ่ง-เคลื่อนไหว ซึ่ง 2 สิ่งนี้จะทำงานร่วมกันให้เกิดความสมดุล
ร่างกายคนเราก็เช่นกัน เมื่อมองแบบหยินหยางแล้ว การที่ร่างกายจะมีสุขภาพที่ดีแข็งแรงก็จะเกิดจากการที่หยินหยางมีความสมดุลกัน เมื่อใดที่หยินหยางขาดสมดุล เราก็จะเกิดอาการเจ็บป่วยหรือไม่สบายตัวขึ้นได้
แพทย์จีนจะตรวจวินิจฉัยสมดุลหยินหยาง จาก การฟัง การซักถามประวัติ ดูใบหน้า ดูลิ้น และการจับชีพจร หรือ “แมะ” เพื่อหาสาเหตุการเกิดโรค กลไกการดำเนินโรค และกลุ่มอาการของโรค เพื่อนำมาสู่การรักษา ป้องกัน ฟื้นฟู และปรับสมดุล ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล รวมถึงคำแนะนำจากแพทย์ และแนวทางการรักษา
“พลังหยินขาดความสมดุล” มี 2 แบบคือ หยินพร่อง และ หยินมากเกิน จะทำให้เป็นคนขี้ร้อน ซึ่งอาจเป็นความร้อนที่เรานำเข้ามาในร่างกาย ผ่านการรับประทานอาหารบางประเภท เช่น ของทอด ที่ทำให้ร่างกายสะสมความร้อน
ส่วนอาการของ “พลังหยางขาดความสมดุล” เช่น หยางพร่อง หมายความว่า พลังหยางในร่างกายลดน้อยลง พลังหยาง หมายถึง ความร้อนที่ให้ความอบอุ่นกับร่างกายเรา หากวันไหนที่พลังหยางเราลดลง แสดงว่า ไฟในร่างกายเราลดลง ส่งผลให้เราเป็นคนขี้หนาว ปลายมือ ปลายเท้าเย็น เหน็บชา เป็นต้น
วิธีการที่จะรักษาหยินหยางให้สมดุล ทำได้หลายวิธี ในแต่ละบุคคลแพทย์จะรักษาแตกต่างกันตามกลุ่มอาการที่คนไข้เป็นเหมาะกับแนวทางการรักษาแบบไหน เช่น ฝังเข็ม รมยา ครอบแก้ว จ่ายยาจีน การรับประทานอาหารที่เหมาะกับอาการ
- การครอบแก้ว รักษาโดยการนำแก้วแบบเฉพาะนำมาจุดไฟไล่อากาศภายใน เพื่อให้สุญญากาศและครอบดูดผิวหนังบริเวณต่างๆ ของร่างกายหรือตามจุดลมปราณที่ต้องการรักษา การครอบแก้วจะช่วยช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของลมปราณและเลือดกระตุ้นเส้นประสาท บรรเทาอาการ ตึง เจ็บ ปวด ชา ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบ ลดบวม ขจัดความเย็นความชื้น เลือดคั่ง ระบายพิษ ระบายความร้อน ต่างๆ ในร่างกาย ขจัดความเย็นความชื้น เลือดคั่ง ระบายพิษ ระบายความร้อน ต่างๆ ในร่างกาย
- การฝังเข็ม การรักษาโดยใช้เข็มฝังรักษาตามทฤษฎีเส้นลมปราณ จุดฝังเข็ม และเทคนิคการลงเข็ม โดยแพทย์จีนจะทำการตรวจวินิจฉัยแยกโรคและกลุ่มอาการของแต่ละบุคคลก่อนเพื่อเลือกใช้จุดฝังเข็มที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ฝังเข็มในทางคลินิกจะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ ฝังเข็มแบบธรรมดากับ ฝังเข็มร่วมรมยา แตกต่างกันที่ ฝังเข็มแบบร่วมรมยา จะนำ แท่งอ้ายจิว มาปักหรือจ่อไว้ที่ปลายเข็ม และจุดไฟรมยาอีกที
โดยแพทย์จะพิจารณาความเหมาะสมให้คนไข้แต่ละคนตามโรคและกลุ่มอาการเฉพาะตัวของคนไข้ ซึ่งฝังเข็มแบบธรรมดาจะเป็นที่นิยมและใช้บ่อย สามารถรักษาได้หลากหลายโรคและกลุ่มอาการ เช่น บรรเทาอาการปวดเมื่อย ปรับประจำเดือน ปรับสมดุลร่างกาย เป็นต้น ส่วนการฝังเข็มร่วมรมยาจะเพิ่มประสิทธิภาพการอบอุ่นร่างกายขจัดความเย็น เพิ่มพลังหยาง ลดเลือดคั่ง ลดบวม เป็นต้น
เมื่อมองในภาพรวม “หยินหยาง” จึงสามารถให้คำจำกัดความเดียวกับ “Vibe” ในภาษาอังกฤษ ที่สื่อถึง “ความสมดุล” ความสำคัญกับการปรับ “ความสมดุล” ให้กับชีวิตที่ไม่สมดุล หรือ Bring Back your Shade of Vibes จึงจำเป็นสำหรับเราทุกคน
หากสนใจเรื่องแพทย์แผนจีนลองไปปรึกษาได้ทุกแห่งที่มีการให้บริการ “ศาสตร์แห่งแพทย์ทางร่วม” หรือ หาต้องการคุยกับคุณหมอพิงค์ เพื่อปรับ หยินหยาง ให้สมดุล และเพื่อสร้างสมดุล “ร่างกาย อารมณ์ และ จิตใจ” ลอง ติดต่อคุณหมอพิงค์โดยตรงได้ที่ “รีเจนเนไลฟ์ ไวทัล เซ็นเตอร์” หรือเข้าไปอ่านบทความที่ Sineha Bangkok เคยลงไว้ก่อนได้ที่ “5 ศาสตร์แห่งแพทย์ทางร่วม” ที่ “รีเจนเนไลฟ์ ไวทัล เซ็นเตอร์”
ส่วนคำถามยอดฮิต ฝั่งเข็ม ที่ได้รับประจำเรื่องคือ เจ็บไหม ? Sineha Bangkok ตอบให้ได้เลยจากประสบการณ์ในการลองฝังเข็มแบบแพทย์แผนจีนมาหลายที่ ไม่มีที่ไหนเจ็บเลยเพราะ เข็ม ที่ใช้เล็กมาก เล็กกว่าเข็มฉีดยาทั่วไป เพราะฉะนั้นใครอยากลองปรึกษาแพทย์แผนจีนเป็นทางเลือกก็ไม่ต้องกลัวนะ