ความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดคุณค่าวัฒนธรรม ในมุมมองใหม่ของคนรุ่นใหม่
ตลาดพลู คือ ย่านเก่าแก่ที่ถูกดิสรัปจากการเปลี่ยนแปลงของการขยายเมืองในกรุงเทพฯ การสร้างความเชื่อมโยงให้คุณค่าของย่านเมืองเก่าถูกถ่ายทอดออกไปยังคนรุ่นใหม่ในรูปแบบที่สอดรับกับวิถีชีวิตคนเมือง
จึงเป็นโจทย์หลักในการทำนิทรรศการของทีมงานคณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งเป็นเอกชนรายเดียวที่ได้เข้าร่วมทำงานกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ สศส.ในการจัดทำนิทรรศการ Bangkok Design week ซี่งเป็นเทศกาลงานออกแบบที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มียอดผู้เข้าชมงานทั้งไทยและต่างประเทศมากกว่า 400,000 คนในแต่ละปี
คุณค่าวัฒนธรรมเชื่อมโยงคนสองยุค อาจารย์มาร์ค ผศ.ดร. ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้อยู่เบื้องหลังแนวคิดการออกแบบนิทรรศการตลาดพลูในงาน Bangkok Design week 2023 เล่าว่า คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนรายเดียวที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมในงาน Bangkok Design week 2023 ที่ตลาดพลูในปีนี้
ซึ่งปัจจุบันย่านตลาดพลูมีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน เมื่อรถไฟฟ้าสร้างเสร็จ ความเจริญเข้ามาเยือน โครงการที่อยู่อาศัยเกิดใหม่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีผู้อยู่อาศัยใหม่ ๆ เข้ามาในพื้นที่ เกิดการผสมผสานของคนกลุ่มใหม่นอกพื้นที่กับผู้อยู่อาศัยดังเดิมในชุมชน มีความไม่เข้าใจเรื่องวิถีชีวิตและวัฒนธรรมดังเดิมของคนเก่าที่อยู่เดิมในชุมชนตลาดพูลมายาวนาน เกิดเป็นโจทย์ให้ขบคิดหาวิธีเพื่อให้สองวิถีชีวิต คนใหม่ กับคนเก่าสามารถอยู่ร่วมกันได้ในพื้นที่เดียวกันอย่างมีความสุข
ด้วยโจทย์นี้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้จัดนิทรรศการ Bangkok Design week 2023 ในคอนเซ็ปต์ ‘เมืองมิตรดี’ มีการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ที่สามารถช่วยให้การสื่อสารออกไปสร้างความเข้าใจให้คนเก่าและคนใหม่ในพื้นที่ คงไว้ซึ่ง ‘ต้นทุนทางวัฒนธรรม’ ของชุมชนตลาดพลู ซึ่งนับเป็น Core Value ที่มีมูลค่าและต่อยอดออกไปให้ทันสมัยผ่านนิทรรศการที่จัดออกมา
สำหรับแกนความคิดสร้างสรรค์ได้ถูกแบ่งไว้ 3 ส่วน ส่วนแรกทำให้คนรู้จักและสัมผัสของดีย่านตลาดพลู ด้วยการเปิดพื้นที่ให้คนได้สัมผัสจากการลงมือทำผ่านกิจกรรมลักษณะทำเวิร์คช็อป เช่น การจัดกิจกรรมระบายสีหัวสิงโต เนื่องจากในย่านนี้มีคณะเชิดสิงโตที่มีชื่อเสียง กิจกรรมเรียนรู้เรื่องการทำว่าว เนื่องจากย่านนี้มีแชมป์การเล่นว่าว และการเปิดพื้นที่โรงสีเพื่อให้เรียนรู้เรื่องเส้นทางการค้าข้าวในอดีต
ส่วนที่ 2 คือการหาความเป็นไปได้ใหม่ โดยเราอยากเห็นว่าในย่านเดิมที่มีคนใหม่เข้ามาจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ด้วยการใช้นิทรรศการนี้ในการสื่อสารรับความคิดเห็นของคนเดิมว่า อยากเห็นตลาดพลูในอนาคตแบบไหน โดยใช้การสื่อสารผ่านศิลปะเป็นตัวกระตุ้นความคิด การใช้แสงสีเพิ่มความสดใส มองเห็นง่าย เช่น บริเวณศาลเจ้า นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ออกแบบแผนที่ย่านตลาดพลูให้เข้าถึงงาน
และในส่วนที่ 3 คือการเปิดพื้นที่ให้กลุ่มคนในชุมชนที่เป็นพลังขับเคลื่อนของย่านนี้ เข้ามาร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมุมมองว่าจะทำอย่างไรกับย่านที่อยู่อาศัยที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลง
หัวใจสำคัญของ Design Thinking คือ มองให้เห็นถึงคุณค่าของสินค้า เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเทคโนโลยีแต่เป็นการใช้ความคิดสร้างสรรค์นำ Core Value มาต่อยอดในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจ เช่น นักศึกษามีประสบการณ์สร้างมูลค่า ว่าวปักเป้า หัวสิงโต โมเดลไม้ ของดีชุมชนตลาดพูล ด้วยการถอดประสบการณ์ความชำนาญ ความปราณี นำมา Core Value เป็นนวัตกรรมรูปแบบบใหม่ เป็นเสื้อ โมเดล หรือจัดกิจกรรมเวิร์คช็อปให้คนได้มีส่วนร่วมและตระหนักถึงมูลค่าทางภูมิปัญญา
ในมุมของสังคมเกิดการตระหนักและมองเห็น สัมผัส ถึงคุณค่าจากวิถีชีวิตแบบเดิมผ่านมุมมองและรูปแบบใหม่ เราไม่อยากเสียต้นทุนทางวัฒนธรรมไปกับการเปลี่ยนแปลงของเวลาจากการเปลี่ยนของช่วงอายุคน เพราะเอกลักษณ์เกิดขึ้นได้ต้องใช้เวลานาน
เราจะทำอย่างไรให้การเปลี่ยนแปลงของเมืองกับวิถีชีวิตเดิมและผู้คนเติบโตไปพร้อมกันได้ โดยเราคาดหวังว่าการถ่ายทอดแนวคิดนี้จะเป็นฐานเศรษฐกิจในอนาคตให้กับย่านนี้ได้ ซึ่งเป็นในรูปแบบใหม่ที่เข้ากับยุคสมัยซึ่งผู้คนที่อยู่อาศัยเดิมในพื้นที่สามารถใช้คุณค่าจากทักษะหรือประสบการณ์ส่งต่อไปยังคนรุ่นใหม่ ๆ
โดยจากการเดินสำรวจของกลุ่มนักศึกษา ได้พบคุณลุงและพูดคุยถึงปัญหา พบว่าคุณค่าของงานคุณลุงอยู่ที่ ทักษะและประสบการณ์ที่สั่งสมไว้ หากนำสิ่งนี้มาคิดรูปแบบการนำเสนอใหม่ เปิดเวิร์คช็อปให้คนที่สนใจมาร่วมเรียนรู้ประกอบงานไม้ของตัวเอง จะทำให้คนเห็นคุณค่าของงานและบอกต่อ ทำให้คุณลุงมีออเดอร์เพิ่มขึ้น และได้ช่วยออกแบบแพคเกจจิ้ง เพิ่มความสวยงามให้งานไม้จำลองมีมูลค่าและมนต์คลังยิ่งขึ้น
“เด็กรุ่นใหม่เขาคิดเก่ง ทำงานของลุงมีคุณค่า น่าจดจำ มากขึ้น และลุงยังได้แบ่งปันประสบการณ์ให้คนรุ่นหลังได้เก็บไปเป็นแรงบันดาลใจและงานไม้จำลองของลุงอาจจะมีคนเห็นค่าและสืบทอดไว้”