โครงการต้นแบบระดับภูมิภาคทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยมหาสมุทร โดย สิงห์ เอสเตท
สิงห์ เอสเตท หรือ S ย้ำจุดยืนวิสัยทัศน์ความสำเร็จผ่านปรัชญา “Go Beyond Dreams” ในกลยุทธ์ Go Exceed, Go Exist สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านความสมดุลในทุกมิติ ทั้งชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ล่าสุด โครงการ CROSSROADS Maldives โดย SHR ในเครือสิงห์ เอสเตท ตอกย้ำความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมได้รับเลือกให้เป็น “โครงการต้นแบบด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน” ในการประชุมระดับภูมิภาคทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยมหาสมุทร ครั้งที่ 2 และการประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล ครั้งที่ 11 (2nd UN Ocean Decade Regional Conference & 11th WESTPAC International Marine Science Conference) จัดโดย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและสำนักงานคณะอนุกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสมุทรศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิกตะวันตก (IOC/WESTPAC)
คุณฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ S กล่าวว่า “โครงการCROSSROADS Maldives แหล่งท่องเที่ยวครบวงจรระดับโลกหนึ่งในกลุ่มธุรกิจโรงแรมที่ดำเนินการโดย SHR ของ สิงห์ เอสเตท เราให้ความสำคัญกับการรักษาความสมดุลระหว่างการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตควบคู่ไปกับการคงอยู่ของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ โดยความตั้งใจนี้นับเป็นหนึ่งปรัชญา “Go Beyond Dreams” กลยุทธ์สำคัญด้านความยั่งยืนด้วยแนวคิด Go Exceed, Go Exist และเป็นหนึ่งในแนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของเรา “Nature-Based Solutions” เพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพทั้งสิ่งมีชีวิตทางบกและทางทะเล ทำให้ธุรกิจโรงแรมมีพื้นที่ Key Biodiversity Area ซึ่งก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิ ชุมชนในพื้นที่ และนักลงทุน รวมถึงสร้างแรงดึงดูดลูกค้าและนักท่องเที่ยวที่ใส่ใจในเรื่อง Eco-Tourism มากขึ้นจนกลายเป็นโอกาสทางธุรกิจที่เกิดจากความมุ่งมั่นในการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ”
ปัจจุบัน โครงการ CROSSROADS Maldives อยู่ระหว่างดำเนินโครงการ SINGHA Marine Conservation Area เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่อนุรักษ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่พื้นที่คุ้มครอง หรือ OECMs (Other Effective Area-Based Conservation Mearsures : มาตรการอนุรักษ์เชิงพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพ) โดยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับกระทรวงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน (Ministry of Climate Change, Environment & Energy) สาธารณรัฐมัลดีฟส์ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทางน้ำ 3.15 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 31.56% ของพื้นที่โครงการ CROSSROADS ซึ่งเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบด้วย แนวปะการังที่สมบูรณ์ สัตว์ทะเลหายากโดยเฉพาะ โลมา กระเบน และเต่าทะเล เป็นจำนวนมากในพื้นที่ อนุรักษ์สิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์ตาม IUCN Red List ในการป้องกัน หลีกเลี่ยง บรรเทา ฟื้นฟู และชดเชยผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่และเติบโตร่วมกันในระยะยาว
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การประชุมระดับภูมิภาคทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยมหาสมุทร ครั้งนี้ เป็นความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ถือเป็นก้าวสำคัญเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลให้เห็นเป็นรูปธรรม สะท้อนถึงศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลาง และผู้นำด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลและมหาสมุทรในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก รวมถึงสร้างเครือข่ายนักวิทยาศาตร์ทางทะเลให้ร่วมกันเน้นย้ำถึงความจำเป็น และสื่อสารความสำคัญของการอนุรักษ์ท้องทะเลให้ขยายออกไปในวงกว้างมากขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักร่วมถึงความท้าทายต่างๆ ที่มหาสมุทรของเรากำลังเผชิญอยู่ และนับเป็นอีกก้าวที่สำคัญในการเดินทางไปสู่เป้าหมายในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและมหาสมุทรอย่างยั่งยืน
“ความร่วมมือของภาคเอกชนมีความสำคัญยิ่งยวด โดยเฉพาะในยุคนี้ที่โลกคาดหวังมากขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่การสนับสนุนงานด้านวิทยาศาสตร์และการอนุรักษ์ แต่การเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลทะเลในพื้นที่อย่างจริงจัง การสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และการมีส่วนสำคัญในการค้นหาข้อมูลสำรวจโลกและทำงานร่วมกับชุมชนในการปกป้องทรัพยากรในท้องถิ่นให้อยู่ยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของทุกคนในพื้นที่สืบต่อไป ช่วยให้มนุษย์และธรรมชาติอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล” ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าวทิ้งท้าย