จุดพลุเที่ยวภูเก็ตรอบใหม่ หลังงาน “The Living Art Festival 2020 & Blue Tree Reopening” ณ โครงการบลูทรี ภูเก็ต

เปิดตัวอย่างสวยงามไปแล้วกับการกลับมาเปิดใหม่อีกครั้งของ บลูทรี ภูเก็ต (Blue Tree Phuket) พร้อมกลับการจับมือกับ The Living Art Gallery จัดงาน  “The Living Art Festival 2020 & Blue Tree Reopening” เทศกาลแห่งความสุขในการเสพงานศิลป์ ที่ได้รวบรวมงานศิลปะทุกแขนงจากทั่วประเทศไทยมาไว้ในงานเดียวกัน

งานนี้ไม่เพียงแค่มุ่งฟื้นการท่องเที่ยวภูเก็ต แต่ยังมุ่งยกระดับเมืองภูเก็ตให้เป็น Creative City Hub หรือศูนย์กลางของงานศิลป์สร้างสรรค์

ภายในงานเทศกาลที่ผ่านมา บลูทรี ภูเก็ต (Blue Tree Phuket) ถูกเนรมิตให้เป็นแดนแห่งศิลป์สร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นการเดินชมภาพวาดสตรีทอาร์ตโดย Four Studio, HOC Gallery, ศิลปินจากภูเก็ตและเชียงใหม่, การวาดผ้าบาติกที่มาวาดกันสดสด โดยศิลปินสาวฝาแฝด ธมลวรรณ-ธันย์ชนก พัฒนา จากจังหวัดตรัง

การแสดงสตรีทเพอร์ฟอร์แมนซ์ (Street Dance, Robot Dance, Flash Mob Dance, Violine with B-Boy Dance) และชมงานศิลปะภาพวาด ภาพเขียน และประติมากรรมจากศิลปินทั่วประเทศไทย ซึ่งหาชมผลงานของศิลปินระดับต้นๆของเมืองไทยได้มากมาย อย่าง ประทีป คชบัว, เมืองไทย บุษบามาโร, จารุพงษ์ จันทรเพชร, ปริทรรศ หุตางกูร, สัจจา สัจจากุล และอีกหลายท่านในนามของกลุ่ม LIFE GO ON ที่พร้อมใจกันยกพลขึ้นเกาะภูเก็ต มาเปิดใจสนทนาประสาศิลป์กันแบบไร้รูปแบบและขีดจำกัด นอกจากนี้ยังมีงานฝีมือ, งานปั้นเซรามิกจากนักดำน้ำสาว ปลาการ์ตูน หรือพิชุภา โสภโณวงศ์ และหนุ่มป็อป ภาชนะสตูดิโอจากเชียงใหม่รวมถึงเอ็มโซเฟียน เบญจเมธา จากปัตตานีและภูเก็ตเซรามิก, home decoration จากดีสวัสดิ์เฟอร์นิเจอร์ และจิวเวลรี่ที่รังสรรค์พิเศษจากดุจจันทร์ จริตงาม ศิลปินสาวนครศรีธรรมราช

ฝั่งการทำเวิร์คช็อปต่าง ๆ ที่น่าสนใจในงานให้ผู้ร่วมงานสร้างประสบการณ์ก็มากมาย อาทิ การสอนยิงธนู โดย เอ็มโซเฟียน ศิลปินจากปัตตานี, เวิร์คช็อปการทำจิวเวลรี่จากเซรามิกโดยแก้ว ขนงนาฏ ยิ้มศิริ และไก่ บัญชา ชูดวง,

เวิร์คช็อปการวาด characters ของคนด้วยสีน้ำโดย ปู กนิษฐา ประสิทธิชัย และ จุ๊ กัลย์ รามสูตรจาก Pop Art Studio, เวิร์คช็อปการทอผ้าแบบร่วมสมัยด้วยกี่เฟรมขนาดเล็กและไหมพรมของ Bigknit โดยศิลปิน อิม อวิกา สมัครสมาน, Panel Talk โดย บัญชา ชูดวง กับการสร้างเรื่องราวให้ผลิตภัณฑ์ หรือ Storytelling, ภชวณี เตชะพกาพงษ์ สาวเปรี้ยวผู้สร้างสไตล์การแต่งตัวที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง กับการสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือ Value Added และ ไมค์ จิรชัย ตั้งกิจงามวงศ์ จากดีสวัสดิ์ เฟอร์นิเจอร์ กับหัวข้อ จากท้องถิ่นสู่เวทีโลก หรือ Glocalization

ตกค่ำยังจัดให้เพลินกับแฟชั่นโชว์ จากดีไซน์เนอร์และสไตล์ลิสต์แถวหน้า ของเมืองไทยอย่าง “ไก่” บัญชา ชูดวง ที่ได้นำชิ้นงานปักผ้าด้วยฝีมือนักโทษแดน 3 จังหวัดเชียงรายมาออกแบบตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าในคอลเลคชั่นชุด Dann 3 Orginal

“เจี๊ยบ” เอกกมล อรรถกมล มาใน  คอลเลคชั่นชุด Neo Peranakan นำผ้าปาเต๊ะอัตลักษณ์การแต่งกายของวัฒนธรรมเพอรานากันในคาบสมุทรมาลายู ที่คุ้นเคยกันของสาวบาบ๋ามาออกแบบตัดเย็บให้เป็นชุดแบบร่วมสมัยใส่สบายๆ ได้ทุกโอกาส

พลาดไม่ได้ต้องมี การแสดงชุด โนรา โดย ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ อาจารย์ประจำสาขาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สร้างความแปลกด้วยการร่ายรำผสมกับเปียโนของชาวตะวันตก และ โกโตะ เครื่องสายจากญี่ปุ่น

บลูทรี ภูเก็ต (Blue Tree Phuket)

ด้านการเปิดตัวอีกครั้งของบลูทรี ภูเก็ต สวนน้ำสวนสนุกเพื่อการพักผ่อนของคนทุกวัยบนเนื้อที่ 140 ไร่ เปิดตัวครบทุกเครื่องเล่นใน “บลูทรี ลากูน” สวนน้ำ และทะเลจําลองขนาดใหญ่กว่า 17,000 ตารางเมตร ที่ใช้เทคโนโลยีระดับโลกจากประเทศชิลี ทำให้น้ำสะท้อนเป็นสีฟ้าสดใส

ใครมีโอกาสแวะไปขอแนะนำเครื่องเล่นที่ไม่ควรพลาดอย่าง สไลเดอร์ ซูเปอร์ฟลาย (Super Fly) หน้าผาจำลอง ซิปไลน์ โซนเล่นน้ำสำหรับครอบครัวธีม Tarzan & Jane และนินจา วอริเออร์ (Ninja Warrior)

ใครกำลังวางแผนเที่ยวภูเก็ต ไปได้ทั้งปี แต่ถ้าสนใจงานศิลปะต่าง ๆ ที่นำมาจัดแสดงในเทศกาลนี้ จะยังมีให้ชมไปจนถึงกลางเดือนมกราคม 2564 จากนั้นสามารถเข้าชมได้ต่อที่ The Living Art Gallery ที่ตั้งอยู่ในโครงการ บลูทรี ภูเก็ต (Blue Tree Phuket) ซึ่งเปิดให้เข้าชมฟรีทุกวันจันทร์-เสาร์ ตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น. หรือสามารถเข้าไปชมแกลเลอรี่ผ่านระบบ VR เสมือนจริง ได้ที่เว็บไซต์ www.thelivingartsthailand.com หรือสนใจเข้าชมเป็นหมู่คณะ โปรดนัดล่วงหน้าที่โทร 065 926 9455 หรืออีเมล: info@thelivingartsthailand.com ส่วนใครยังเสพย์งานศิลป์ไม่หนำใจ Sineha Bangkok ชวนแวะไปอีกที่ ที่เป็นทั้งโรงแรมและแกลเลอรีที่มีเรื่องราวย้อนวันวานยุค 1936 “บ้านอาจ้อ” กดเข้าไปอ่านรีวิวก่อนได้ที่ ?? ย้อนความทรงจำเที่ยวภูเก็ตยุค 1936 ที่ บ้านอาจ้อ ภูเก็ต

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.